เมนู

ที่ท่านตรัสว่า ทิฏฐิสมนุปัสสนาอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุกขสมุทยคามินี สมนุปัสสนา. มรรคญาณ 4 พร้อม
ด้วยวิปัสสนา ตรัสว่า สมนุปัสสนา ในคำนี้ว่า ทุกฺขนิโรธคามินี
สมนุปสฺสนา
ดังนี้. ในสูตรนี้ท่านกล่าววัฏฏะและพระนิพพานไว้
ด้วยประการฉะนี้
จบ อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ 2

3. อนิจจสูตรที่ 1



ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ 5



[91] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใด
ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น
อนัตตา เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เวทนาไม่เที่ยง...
สัญญาไม่เที่ยง... สังขารไม่เที่ยง... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อม
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

[92] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้ว
จากรูปธาตุหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ถ้าจิต
ของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ... จากสัญญาธาตุ... จาก
สังขารธาตุ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพันแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ถือมั่น เพราะหลุดนั้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดี
พร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะ
ตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อนิจจสูตรที่ 1

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 1



ในอนิจจสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ ความว่า พึงเห็นด้วยปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยมรรค พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า วิรชฺชติ วิมุจฺจติ ได้แก่
ย่อมคลายกำหนัดในขณะแห่งมรรค ย่อมหลุดพ้นในขณะแห่งผล. บทว่า
อนุปาทาย อาสเวหิ ความว่า เพราะไม่ยึดถือ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลายที่ดับสนิทด้วยการดับสนิทโดยไม่เกิดขึ้น. บทว่า รูปธาตุยา
เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงปัจจเวกขณญาณ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เพื่อแสดงปัจจเวกขณญาณพร้อมด้วยผล ดังนี้ก็มี. บทว่า ฐิตํ ได้แก่
ตั้งอยู่โดยความเป็นกิจที่จะพึงกระทำให้สูงขึ้นไป บทว่า ฐิตตฺตา
สนฺตุสิตํ
ได้แก่ ยินดีโดยภาวะเที่ยงแท้ที่จะพึงบรรลุ. บทว่า ปจฺจตฺตํเยว
ปรินิพฺพายติ
ได้แก่ ย่อมปรินิพพานด้วยตนเองทีเดียว.
จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 1